รายละเอียดกิจกรรม
ชีวสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีในการจัดการข้อมูล ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดยในปัจจุบันเทคโนโลยีการวิเคราะห์จีโนมของสิ่งมีชีวิตทำได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้การศึกษาสิ่งมีชีวิตใช้เทคโนโลยีนี้มากขึ้น ทั้งข้อมูลทั้งจีโนม หรือบางส่วนของยีนหรือกลุ่มยีน เพื่อตอบโจทย์คำถามต่างๆ ของสิ่งมีชีวติ หรือพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุล จัดจำแนก วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งชีวิต ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลลำดับนิวคลีโอไทด์มาแล้ว จำเป็นต้องมีวิธีการเพื่อจัดการข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยวิธีการชีวสารสนเทศ เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายของการศึกษาและการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
กิจกรรมนี้มุ่งเน้นไปถึงการวิเคราะห์กลุ่มประชากรของจุลินทรีย์ โดยใช้แบคทีเรีย เป็นโมเดลในการศึกษา โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรมีความเชี่ยวชาญและหน่วยวิจัยด้านชีวสารสนเทศ และจุลินทรีย์ก่อโรคพืช ร่วมกับเครือข่ายสมาชิก และพันธมิตรทางวิชาการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ทำให้เกิดการบูรณาการด้านการศึกษาจุลินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีชีวสารสนเทศ ซึ่งจะดำเนินการร่วมกับกลุ่มสมาชิกเครือข่ายศูนย์ฯ เพื่อการจัดกิจกรรมฝึกอบรมนี้ขึ้นในพื้นที่ของกลุ่มสมาชิกเครือข่ายศูนย์ฯ จำนวน 2 ที่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งจะก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้กับอาจารย์ นักวิจัยในพื้นที่ และมหาวิทยาลัยใกล้เคียงในพื้นที่ รวมถึงการพัฒนานิสิตให้มีความรู้ทักษะด้านชีวสารสนเทศ โดยคาดหวังว่าจะมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากภาคเอกชนจำนวน 10 คน นักวิจัย/นักวิชาการจากภาครัฐ จำนวน 10 คน อาจารย์/นิสิต/นักศึกษา จำนวน 20 คน นอกจากนี้ในกิจกรรมนี้จะได้มีการจัดทำสื่อวิดีทัศน์ถ่ายทอดผ่านทางสื่อสารสนเทศ โดยคาดหวังจะมีผู้เข้าชมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี 100 คน/views โดยคาดหวังว่าผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจะได้นำองค์ความรู้นี้ไปใช้ในงานวิจัยและพัฒนาของหน่วยงาน เป็นแนวทางในการพัฒนาจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์
วัตถุประสงค์
หัวหน้า กิจกรรมที่ 6
- ชื่อ - นามสกุล : ดร. จุฑาเทพ วัชระไชยคุปต์
- สังกัด : ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สาขาที่เชี่ยวชาญ : การตรวจสอบโรคพืช เชื้อแบคทีเรียในเมล็ดพันธุ์, อณูชีวโมเลกุลด้านเชื้อโรคแบคทีเรีย
- Email : jutatape.w@ku.th