รายละเอียดกิจกรรม

การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพและผลผลิตของพืช ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมของโลกที่ทวีความรุนแรง ซึ่งยากต่อการเติบโตและการสร้างมวลชีวภาพของพืชมากขึ้นเรื่อยๆ นับเป็นความท้าทายเป็นอย่างมากสำหรับนักปรับปรุงพันธุ์พืช ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการตรวจวัดฟีโนไทป์ของพืช (Plant phenotyping) หรือการตรวจวัดลักษณะปรากฏของพืช ซึ่งเป็นชุดเทคโนโลยีที่เกิดจากการรวบรวมองค์ความรู้ในหลายแขนงเข้าไว้ด้วยกัน โดยมุ่งเน้นศึกษารูปลักษณ์ขั้นสูงและลักษณะทางสรีรวิทยาของพืช เพื่อเร่งกระบวนการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของยีนกับการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่ต้นพืชสัมผัสให้มีความรวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพของการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พืชให้สูงขึ้นกว่าวิธีการดั้งเดิมในอดีต โดยการนำเอาเทคโนโลยีการตรวจวัดฟีโนไทป์มาใช้ในขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ จะช่วยในการคัดเลือกพันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูงควบคู่กับมีคุณสมบัติที่ดีและตรงตามความต้องการอย่างแม่นยำ ทนต่อสภาพแวดล้อมที่จำกัดการเติบโต เช่น ทนแล้ง ทนเค็ม ทนน้ำท่วม ต้านทานต่อการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช และยังรวมไปถึงการคัดเลือกพันธุ์ที่มีคุณสมบัติเชิงคุณภาพที่ดี เช่น มีปริมาณสารอาหารและสารสำคัญสูง ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและจุดขายให้กับสายพันธุ์พืชที่พัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ขึ้นใหม่

ศูนย์กลางความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เกษตรสมัยใหม่สำหรับผลผลิตการเกษตรมูลค่าสูง เป็นศูนย์ฯ ที่รวบรวมเครือข่ายของผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช เทคโนโลยีจีโนมิกส์ สรีรวิทยาพืช และเทคโนโลยีทางด้านฟีโนมิกส์เข้าไว้ด้วยกัน ผู้เขี่ยวชาญของศูนย์ฯ ล้วนมีประสบการณ์สูงในการวิจัยและการนำเอาเทคโนโลยีในการตรวจวัดฟีโนไทป์ของพืชทั้งในระดับต้นพืชไปจนถึงระดับแปลงปลูก ทั้งเทคโนโลยีการตรวจวัดฟีโนไทป์ด้วยเครื่องมือขั้นพื้นฐาน เครื่องมือขั้นสูง หรือการตรวจวัดฟีโนไทป์อย่างรวดเร็ว (High-throughput phenotyping) มาประยุกต์ใช้ในการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พืชให้ได้ลักษณะเชิงปริมาณ ลักษณะเชิงคุณภาพ และลักษณะที่ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ตรงตามความต้องการอย่างแม่นยำ

วัตถุประสงค์

  • เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ ชุดเทคโนโลยีและเทคนิคเชิงปฏิบัติการที่จำเป็นต่องานปรับปรุงพันุ์พืชที่ทันสมัยและมีความแม่นยำสูง โดยในปี 2566 จะถ่ายทอดในหัวข้อการตรวจวัดฟีโนไทป์ของพืชสำหรับงานปรับปรุงพันธุ์พืชให้แก่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อยกระดับและพัฒนาทักษะด้านการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พืช์
  • สร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการถ่ายทอด ให้สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคนิคเชิงปฏิบัติการให้แก่กลุ่มบุคคลอื่น และขยายผลการใช้ชุดเทคโนโลยีเพื่อสำหรับคัดเลือก ปรับปรุง และพัฒนาสายพันธุ์พืช ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ้


  • กรอบการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ

    หัวหน้า กิจกรรมที่ 7


    • ชื่อ - นามสกุล : ดร. วินัย อุดขาว
    • สังกัด : ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    • สาขาที่เชี่ยวชาญ : สรีรวิทยาของพืช ชีวฟิสิกส์ของพืชและสภาพแวดล้อม การจัดการปัจจัยการผลิตพืช
    • Email : winai.ut@ku.th