ลักษณะการใช้น้ำของปาล์มน้ำมัน

 
สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์/
ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร
 

ไม้ยืนต้นมียุทธศาสตร์การใช้น้ำที่แตกต่างอย่างมากจากพืชล้มลุก ประเด็นสำคัญคือ ต้นไม้ยืนต้นใช้หลักการรักษาความปลอดภัยของต้นไว้ก่อน ปากใบจึงมีการตอบสนองโดยตรงกับสภาพอากาศ โดยเฉพาะต่อระดับแห้งของอากาศ (แสดงด้วยค่าแรงดึงระเหยน้ำ, air vapor pressure deficit หรือปริมาณน้ำระเหยจากถาดระเหย) ปากใบจะปิดแคบลงเมื่ออากาศมีสภาพแห้งสูง เพื่อลดอัตราการคายน้ำของใบลง ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้อัตราการดูดน้ำเข้าของระบบรากลดตามไปด้วย

อีกประเด็นที่สำคัญคือ ไม้ยืนต้นมีเซลล์ทั้งต้นทำหน้าที่เก็บน้ำ โดยที่ลำต้นเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุด เมื่อใบเสียน้ำ น้ำจะออกจากชั้นผนังเซลล์ของเซลล์พืชก่อน ซึ่งเกิดเร็วกว่าอัตราที่น้ำจากรากถูกดูดเข้ามาชดเชย ไม้ยืนต้นจึงมีน้ำของเซลล์หรือน้ำในมวลของต้นทำหน้าที่เป็นถังน้ำสำรอง (capacitor) เป็นแหล่งน้ำให้เกิดการคายน้ำได้จำนวนหนึ่ง ซึ่งสามารถเป็นปริมาณที่มากกว่าที่รากดูดเข้ามาเติมคืนในขณะนั้น การทดแทนน้ำสำรองส่วนนี้ทำให้เกิดสภาพการที่รากสามารถดูดน้ำออกจากดินได้เป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับอัตราระเหยน้ำของอากาศ หรือทำให้เกิดสภาพว่าอัตราใช้น้ำของต้นไม้มีสัดส่วนสูงมากกว่าที่คาดว่าจะเป็นเมื่อเทียบกับค่าที่อ่านได้จากถาดระเหยน้ำ


อ่านเรื่องเต็ม (4.9MB) *
Already downloaded  times (นับจากวันที่ 28 ธ.ค. 54)

 

Ref : บทความจาก ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร (AG-BIO Newsletter)
ปีที่ 3 ฉนับที่ 2 (เมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2554)

 

*  เนื่องจากบทความนี้ที่ตีพิมพ์ใน ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร (AG-BIO Newsletter) ปีที่ 3 ฉนับที่ 2 (เมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2554) หน้า 12-15 มีคำอธิบายแกนกราฟ การเว้นวรรค และคำที่ผิดไปจากต้นฉบับก่อนส่งตีพิมพ์ จึงได้มีการแก้ไขข้อผิดพลาดในไฟล์ pdf ให้ตรงกับต้นฉบับ ขอให้อ้างอิงจากบทความที่ได้นำมาให้ download ในหน้านี้เท่านั้น



เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เรื่องน่ารู้ AgBiotech : เพื่อความเข้าใจ เรื่องการให้น้ำแก่พืช